Asia update

วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2555

ถ้านำไปใช้ก็ควรอ้างอิงบ้าง


***********************************************************************
สั่งซื้อหนังสือ "19-19 ภาพชีวิตและการต่อสู้ของคนเสื้อแดง" ได้ที่ ร้านหนังสือ "TPnews" ชั้น 4 (หน้าลิฟต์แก้ว) ห้างอิมพีเรียลลาดพร้าว หรือโทร. 085-5049944 ปกอ่อนราคาเล่มละ 350.- ปกแข็ง 450.-

***********************************************************************
สัปดาห์ที่แล้ว เมื่อได้อ่านรายงานของ คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ คอป. ใน “ส่วนที่ 2 สรุปเหตุการณ์ความรุนแรงและการละเมิดสิทธิที่เกิดขึ้น” เขียนโดยคณะอนุกรรมการตรวจสอบและค้นหาความจริง ซึ่งมีนายสมชาย หอมลออ เป็นประธาน ผู้เขียนก็อุทานขึ้นมาในใจทันทีว่า “เอ๊ะ!!! ผมไปช่วยเขียนลำดับเหตุการณ์หลังรัฐประหารให้กับ คอป.ตั้งแต่เมื่อไหร่” แต่ก็คิดอยู่นาน กว่าจะตัดสินใจลงมือเขียนบันทึกนี้
สาเหตุที่ไม่คิดจะเขียนในช่วงนั้น เพราะเกรงจะเป็นกระแสเดียวกันกับการโจมตีแบบส่วนตัวต่ออนุกรรมการชุดนี้บางท่าน อย่างเช่นที่คนเสื้อแดงส่วนหนึ่งโจมตี นายเมธา มาสขาว ซึ่งผู้เขียนเห็นว่า ท่าทีแบบนี้ ไม่เป็นประโยชน์เท่าไหร่นัก และสิ่งที่ควรจะทำมากกว่าคือ การวิจารณ์ โต้แย้งเนื้อหางานของ คอป. ที่ออกมา เช่น ข้อมูลหลักฐาน การใช้หลักฐาน การให้เหตุผล การตัดสินประเมินในเรื่องต่างๆ รวมทั้งโครงเรื่องในการนำเสนอ
แต่ท้ายที่สุด ก็ตัดสินใจที่จะเขียนบันทึกสั้นๆ นี้ ในฐานะคนที่ทำงานเขียนเองมาบ้าง เป็นบรรณาธิการ แก้ไข ปรับปรุงบทความของคนอื่นมาบ้างเล็กน้อย (แม้จะไม่ได้ดีมากเหมือนพวกมืออาชีพ) และคิดว่า ในอนาคตคงจะฝากปากท้องกับงานประเภทนี้ และดังนั้น จึงตระหนักว่า การเขียนนั้น กว่าจะได้สักประโยคหนึ่ง ย่อหน้าหนึ่งออกมานั้น มันไม่ง่ายเลย ไม่นับเวลาในการปรับปรุงแก้ไขเพื่อตีพิมพ์ และคนทำงานนั้นควรได้รับเกียรติ
ดังนั้น ทุกครั้งที่เอางานคนอื่นมาใช้ไม่ว่าจะทางใดทางหนึ่ง มากบ้างน้อยบ้าง ต้องอ้างอิง ให้เครดิตทุกครั้ง และสิ่งเหล่านี้ควรจะเป็นบรรทัดฐานในหมู่คนที่ทำงานในด้านนี้ 


พูดตรงๆ คือ ผู้เขียนเห็นว่า รายงาน คอป. ชิ้นนี้ ในส่วนของลำดับเหตุการณ์บางส่วน มีรายละเอียดในการบรรยาย สำนวน แม้กระทั่งคำที่เน้นโดยใช้เครื่องหมายคำพูด (“”) ในหลายเหตุการณ์ ตรงกับหรือคล้ายกันกับในหนังสือภาพ 19 - 19 : ภาพ ชีวิต และการต่อสู้ของคนเสื้อแดง จาก 19 กันยา 49 ถึง 19 พฤษภา 53 ของสำนักพิมพ์ ฟ้าเดียวกัน ที่ผู้เป็นบรรณาธิการ อย่างน่าตกใจ ราวกับว่าคัดลอก หรือคัดลอกแล้วแก้ไขนิดหน่อย และคงเอกลักษณ์บางอย่างไว้ โดยไม่ยอมอ้างอิง
ก่อนที่จะแสดงให้เห็นรายละเอียดข้างหน้า อยากโฆษณาหนังสือนิดหน่อย ซึ่งจะช่วยให้เห็นที่มาของความประหลาดใจของผู้เขียนได้อย่างชัดเจน
ความพยายามในการทำหนังสือภาพเล่มนี้ เริ่มจากผู้เขียนและเพื่อนๆ ในเว็บบอร์ดฟ้าเดียวกัน/คนเหมือนกัน หลังจากเหตุการณ์การนองเลือดในเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 ได้ปรึกษากันว่า น่าจะมีหนังสือภาพสักเล่มหนึ่งที่บันทึกประวัติศาสตร์เรื่องราวและชีวิตการต่อสู้ขบวนการเคลื่อนไหว ที่เรียกว่า “คนเสื้อแดง” โดยการนำภาพที่พวกเราได้ถ่ายไว้มารวมกัน และขอจากคนอื่นๆ ที่รู้จัก มาเรียงตามลำดับเหตุการณ์เพื่อเล่าเรื่อง พร้อมกับเขียนคำบรรยายภาพ โดยจะให้เห็นถึงความพยายามและพลวัตของขบวนการเคลื่อนไหวตั้งแต่หลังรัฐประหารเป็นต้นมา ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ อย่างน้อยก็ควรจะครอบคลุมเหตุการณ์ที่เป็นหลักหมายในช่วงต่างๆ รวมทั้งเนื้อหาในการเคลื่อนไหวแต่ละช่วง โดยพวกเราได้ช่วยกันทั้งในส่วนของการรวบรวมภาพ และจัดทำเรียบเรียงลำดับเหตุการณ์อย่างละเอียด ในเว็บบอร์ดเพื่อใช้ประโยชน์ในการทำหนังสือเล่มนี้ และต่อมาสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน รับเป็นผู้จัดพิมพ์ โดยหวังว่าจะมีรายได้จำนวนหนึ่งมาสนับสนุนการทำงานของ ศปช. 

ด้วยความคิดแบบนี้ อะไรที่เป็นครั้งแรกจะถูกเน้น ตัวละครกลุ่มต่างๆ จะถูกให้ความสำคัญ ฉากหลังเวที คำบรรยายหัวข้อของการชุมนุม การใช้สัญลักษณ์ต่างๆ จะถูกระบุ การนำในแต่ละช่วงที่มีพลวัตจะได้รับการบันทึก เนื้อหาข้อเรียกร้องที่สำคัญในบางช่วงจะถูกบรรยาย รวมทั้งตัวเลขบางตัว ในการเล่าเรื่องต่อเนื่องกันไป ภายใต้กรอบของคำบรรยายภาพสั้นๆ แบบคำบรรยายภาพในหนังสือพิมพ์ และใช้การเน้นที่สำคัญโดยการใช้เครื่องหมายคำพูด (“ ”) นี่คือ สไตล์ของการเล่าเรื่อง รวมทั้งการทำลำดับเหตุการณ์เป็นภาคผนวก ให้ครอบคลุมเหตุการณ์ที่ไม่มีภาพในเล่ม และง่ายต่อการใช้ศึกษาค้นคว้าศึกษาต่อไป
แม้หนังสือนี้จะไม่ได้รับการกล่าวขานถึงมากนัก แต่สำหรับพวกเราซึ่งเป็นผู้รวบรวมแล้ว ก็เป็นหนังสือภาพที่รวมรวบการเคลื่อนไหวไว้มากที่สุดและทำให้เห็นพลวัตของการเคลื่อนไหวได้พอสมควร
กลับมาที่รายงานของ คอป. ในส่วนของลำดับเหตุการณ์เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของ นปช.  ซึ่งจริงๆ แล้ว มีความสำคัญต่อเนื้อหาไม่มากนักและใครๆ ก็สามารถที่จะรวบรวมและเขียนขึ้นมาได้จากข้อมูลที่ปรากฏในสื่อต่างๆ ตามเป้าหมายและตามสไตล์ของคนเอง ซึ่งในหนังสือภาพก็ทำเช่นนั้น
แต่เมื่อตรวจสอบเปรียบเทียบกับคำบรรยายในหนังสือภาพแล้ว กลับผมว่า ข้อความ สไตล์ในการเขียน โครงในการบรรยายเหตุการณ์ ในรายงาน คอป. กับคำบรรยายในหนังสือภาพนั้นพ้องกันจนมากเกินไป มีทั้งข้อความในประโยค คำบรรยายเหมือนกันเกือบทั้งหมด หรือคล้ายกับมีการเขียนใหม่จากคำบรรยายเดิม ที่ยังคงสำนวนเดิมไว้ หรือยังคงจุดเน้นในเครื่องหมายคำพูด (“”) ไว้หลายจุด ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว จุดเน้นพวกนี้ ไม่จำเป็นเลยสำหรับลำดับเหตุการณ์ในรายงาน คอป. และถ้าจะเน้นก็ไม่น่าบังเอิญที่จะมีการเน้นแบบที่ทำในหนังสือภาพ (ดูรายละเอียดในล้อมกรอบ)
บันทึกทั้งหมดนี้ ไม่ต้องการที่จะคิดกล่าวหาว่า รายงาน คอป. คัดลอก ตัดแปะ หรือขโมยงานคนอื่นมาเขียนใหม่ และไม่คิดว่าจะพิสูจน์หรืออยู่ในขอบเขตที่จะเอาผิดด้วยการดำเนินคดีทางกฎหมายได้ แต่บังคับใจที่จะให้หยุดสงสัยไม่ได้จริงๆ
นอกจากนั้น ยังเห็นว่า เพื่ออนาคตสำหรับคนที่ทำงานเกี่ยวกับเขียนๆ ถ้ามีกรณีคัดลอกเอามาใช้โดยไม่ให้เครดิตเลย  ไม่ควรจะปล่อยผ่านไปเฉยๆ เช่นเดียวกัน
ถ้าไม่ใช่เป็นดังที่ผู้เขียนสงสัย คอป. โดยนายสมชาย หอมลออ ประธานคณะอนุกรรมการชุดนี้ น่าจะชี้แจงเรื่องนี้มา เพื่อจะได้ไม่เป็นที่ครหา และทำให้ผู้เขียนหายสงสัยว่าตัวเองไปช่วยงาน คอป. มาตั้งแต่เมื่อไหร่
------------------------------------------------------------------------------------------------------
ที่มา : ประชาไทออนไลน์
------------------------------------------------------------------------------------------------------
ข่าวสั้นผ่านมือถือ ข่าวการเมือง, คนเสื้อแดง, พรรคเพื่อไทย, กิจกรรมเพื่อปชต. ฯลฯ สนับสนุน เข้าเมนูเขียนข้อความ พิมพ์ PN กดส่งมาที่เบอร์ 4552146 สมัครวันนี้ ใช้ฟรี14วัน ทุกระบบ เพียง 29 บาท/เดือน รายได้เป็นค่าใช้จ่ายในการทำงานต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย

วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2555

ศปช. อ่านรายงาน คอป. : ‘พวงทอง’ วิพากษ์หลักฐาน-การให้น้ำหนัก-โครงเรื่อง



23 ก.ย.55  เวลาประมาณ 13.00 น. มีงานเสวนา รัฐประหาร 19 กันยากับอาชญากรรมโดยรัฐ กรณีการสลายการชุมนุมเมษา-พฤษภา 53 จัดโดยศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สลายการชุมนุมเดือนเม.ย.-พ.ค.53 (ศปช.) และกลุ่มปฏิญญาหน้าศาล ที่ตึกเอนกประสงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และได้รับความสนใจจากประชาชนจำนวนมากจนล้นห้องประชุม

พวงทอง ภวัครพันธุ์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะตัวแทน ศปช. กล่าวว่า  รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เป็นสาเหตุที่นำมาสู่ความรุนแรงที่เกิดขึ้น โดยรัฐประหารถูกให้ความชอบธรรมโดยนักวิชาการ นักกิจกรรมทางสังคมจำนวนมาก แม้ในช่วงเกิดเหตุจะไม่มีความรุนแรง แต่การต่อต้านหลังจากนั้นมีมาโดยตลอด เกิดกลุ่มอิสระต่างๆ และนำสู่การก่อตัวของกลุ่มเสื้อแดง ความรุนแรงเมื่อเมษายนปี 52 และเหตุการณ์ปี 53 ก็เป็นการตอบโต้กับรัฐประหาร ดังนั้น จึงไม่อาจเรียกได้ว่ามันเป็นรัฐประหารที่สันติ

ในส่วนรายงาน คอป. พวงทองกล่าวว่า รายงานนี้มีข้อมูลที่ดีและเป็นประโยชน์อยู่ไม่น้อย ข้อมูลเหล่านี้ควรถูกนำไปใช้ในชั้นศาลเพราะเป็นวิทยาศาสตร์ เช่น ข้อมูลที่แสดงว่าวิถีกระสุนที่ทำให้ผู้ชุมนุมเสียชีวิต ล้วนมาจากด้านที่ทหารตั้งอยู่ โดยเฉพาะกรณี 10 เม.ย.53 ซึ่งพบว่า ทหารตั้งอยู่บริเวณสะพานวันชาติ  ยิงมายังถนนดินสอ พบรอยกระสุน 120 รอยโดยไม่พบกระสุนปืนที่ยิงไปในทิศทางสวนกัน  หรือกรณีที่รายงาน คอป.ระบุว่า เวลาประมาณ 18.00 น.ยังพบทหารอยู่บนรางรถไฟฟ้าหน้าวัดปทุมวนาราม ถือ M16 กระสุนจริงและยิงไปที่วัด พบรอยกระสุนที่บริเวณประตูทางออก ทางเข้า มีทิศทางการยิงจากรางรถไฟฟ้า ฯลฯ

แต่น่าเสียดายที่ข้อมูลเหล่านี้ไม่ได้ถูกให้ความสำคัญเลยพวงทองกล่าว

พวงทองกล่าวต่อว่า ขณะเดียวกันในรายงานเน้นย้ำเรื่องชายชุดดำอย่างมาก  ทั้งที่ คอป.ไม่สามารถอธิบายทุกเรื่องด้วยเรื่องชายชุดดำ ศปช.ไม่ได้ปฏิเสธว่าไม่มีชายชุดดำอยู่ โดยเฉพาะเหตุการณ์ 10 เมษา แต่ ศปช.อธิบายความรุนแรงบริเวณนั้นแตกต่างจาก คอป. ขณะที่ คอป. สรุปว่าไม่มีหลักฐานว่าผู้ชุมนุมเสียชีวิตจากชายชุดดำ ซึ่งเป็นการปฏิเสธข้อกล่าวหาของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกฯ และ ศอฉ.ที่ว่าชายชุดดำยิงใส่ผู้ชุมนุม เท่ากับข้อกล่าวหานี้ตกไปแล้ว  คอป.ย้ำว่าชายชุดดำเป็นสาเหตุให้ทหารเสียชีวิต ขณะเดียวกันก็เห็นอกเห็นใจฝ่ายทหาร จากคำอธิบายว่าการระดมยิงใส่ผู้ชุมนุม เพราะทหารระดับบังคับบัญชาเสียชีวิต ทำให้ทหารระดับล่างระดมยิงอย่างไร้การควบคุม

ในส่วนของ 10 เม.ย.53 ข้อสรุปสำคัญของ คอป.คือ ผู้ชุมนุมเสียชีวิตหลังชายชุดดำปรากฏกาย และชายชุดดำทำให้ทหารยิงเข้าใส่ผู้ชุมนุม แต่ ศปช.ยืนยันว่า มีผู้ชุมนุมเสียชีวิตก่อนชายชุดดำจะปรากฏตัว เช่น บุญจันทร์ ไหมประเสริฐ  ซึ่งโดนกระสุนความเร็วสูงยิงที่ต้นขาเสียเลือดมากจนเสียชีวิตตั้งแต่ช่วงเย็น

การปรากฏตัวของชายชุดดำ เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ต้องจับกุมดำเนินคดี ผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์สิบเมษาจำนวนมากอาจมองว่า ชุดดำมาช่วย แต่จริงๆ แล้วมันสร้างปัญญาให้ขบวนการเสื้อแดงโดยรวม ทำให้สร้างความชอบธรรมว่าเสื้อแดงใช้ความรุนแรงและรัฐสามารถจัดการได้เต็มที่พวงทองกล่าว

พวงทองกล่าวว่า รายงาน คอป.อ้างชายชุดดำ อธิบายเรื่องนี้ในทุกพื้นที่ที่เกิดเหตุ  แต่เราเสนอว่า ยกเว้น 10 เมษาแล้ว ไม่มีหลักฐานภาพถ่ายหรือวิดีโอของชายชุดดำที่อื่นๆ จึงขอให้ คอป.เสนอหลักฐานเหล่านี้ให้ชัดเจน เพื่อให้ถูกตรวจสอบได้โดยประชาชนด้วย ที่สำคัญเราจะแยกแยะอย่างไรเพราะการ์ดนปช. หรือเจ้าหน้าที่จำนวนมากก็ใส่เสื้อดำ

ตัวแทนจากศปช.กล่าว่า ในขณะที่อ่านรายงาน คอป. พบว่ามีโครงเรื่องที่ชัดเจน  เพื่ออธิบายว่ารัฐบาลและ ศอฉ.ห่วงใยผู้ชุมนุม โดยอ้างแถลงการณ์หรือคำให้สัมภาษณ์ของรัฐ  ตามด้วยการเน้นย้ำเรื่องชายชุดดำประกอบการตายในทุกจุด การวางโครงแบบนี้ชี้ว่า ชายชุดดำสร้างสถานการณ์ปั่นป่วนขึ้น จนเจ้าหน้าที่ต้องใช้กำลังอาวุธคุมสถานการณ์ การชุมนุมของคนเสื้อแดงไม่ใช่สันติวิธี ขาดความชอบธรรม และเป็นสิทธิให้เจ้าหน้าที่ใช้ความรุนแรง

คอป.ไม่เห็นว่าความรุนแรงที่เกิดจากฝั่งผู้ชุมนุมเป็นปฏิกิริยาตอบโต้ความรุนแรงของฝ่ายรัฐ แต่เห็นว่าความรุนแรงของฝ่ายรัฐเป็นการตอบโต้ผู้ชุมนุมที่ใช้ความรุนแรงเท่านั้น

นี่เป็นการเล่าเรื่องที่จะเป็นข้อแก้ตัวให้ ศอฉ.และรัฐบาลอภิสิทธิ์ในอนาคตพวงทองกล่าว

พวงทองเสนอว่า คอป.ต้องคิดใหม่ว่าทำไมการปรากฏตัวของชายชุดดำ ทำให้เจ้าหน้าที่ยิงใส่ผู้ชุมนุมมือเปล่า อาสากู้ชีพที่เสียชีวิต 6 คนสัมพันธ์อย่างไรกับชายชุดดำ อาวุธของทหารมีกล้องส่องระยะไกลช่วยในการยิง ทำไมจึงเล็งไปที่พวกเขา

พวงทองกล่าวว่า ต่อให้ผู้ชุมนุมบางคนมีอาวุธ ก็เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ที่ต้องติดตามจัดการกับผู้ชุมนุมรายนั้น  แต่ไม่ใช่จะนำมาเป็นเป็นข้ออ้างใช้ความรุนแรงกับคนทั้งหมด การมีอาวุธของบางคน ไม่สามารถทำให้ทั้งหมดเป็นผู้ก่อการร้ายไปด้วย แล้วสามารถใช้กระสุน 1.2 แสนนัด ใช้กำลังพล 6.7 หมื่นนายเข้าจัดการ คอป.ต้องแสดงข้อมูล บทวิเคราะห์ที่ชัดเจนกว่านี้ เพื่อจะได้มีการพิสูจน์กันต่อไป

คอป.อธิบายเรื่องนี้มาก แต่ไม่พยายามวิเคราะห์การตายผู้ชุมนุมเป็นกรณี  กลับสรุปความตายเป็นก้อน เป็นพื้นที่ ซึ่งเป็นวิธีการที่แตกต่างกับ ศปช. ที่มุ่งเน้นเป็นรายกรณีหากมีหลักฐาน เราไม่เหมารวมกันเป็นก้อน เราเชื่อว่าถ้าคอป.วิเคาะห์เป็นรายกรณี จะทำให้เห็นว่า ศอฉ. เจ้าหน้าที่ไม่ได้ตอบโต้ชายชุดดำจนเป็นเหตุให้ผู้ชุมนุมเสียชีวิตจำนวนมาก แต่เป็นการใช้กำลังเกินกว่าเหตุตามอำเภอใจอย่างเข้าใจไม่ได้พวงทองกล่าว

กรณีเผาเซ็นทรัลเวิลด์ รายงานคอป.ระบุว่า ทหารเข้าถึงพื้นที่เวลาประมาณ 15.00 น. แล้วถอนกำลังเพราะมีการยิงเข้าใส่ทหาร แต่ภาพถ่ายปรากฏว่าทหารมาถึงสี่แยกราชประสงค์แล้ว มีนักข่าวติดตามด้วย เจอคุณผุสดี งามขำ ซึ่งนั่งอยู่ไม่ไปไหน ทหารก็พาเดินออกจากพื้นที่ คุณผุสดีเคยให้สัมภาษณ์ว่า ระหว่างที่ทหารเดินออกไปกับนักข่าว เห็นรถดับเพลิงจอดอยู่ไม่ไกล แต่กลับไม่เข้าไปดับเพลิงที่กำลังไหม้เลย ส่วนนี้ชี้ว่าทหารคุมพื้นที่หมดแล้ว เราไม่ได้บอกว่าทหารเผา แต่การบอกว่าทหารเข้าไม่ถึงนั้นมีการตรวจสอบหรือไม่

พวงทองพูดถึงวิธีการนำเสนอของ คอป. ว่า 1.ในรายงานมีการกล่าวถึงภาพถ่าย วิดีโอ แต่กลับไม่ปรากฏภาพถ่าย วิดีโอ ในโลกออนไลน์ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญเลย  2.การสัมภาษณ์จำนวนมากเพิ่งกระทำ 2-3 เดือนก่อน คอป.หมดอายุการทำงาน หรือทำในราวเดือนมิถุนายน ซึ่งในจำนวนนั้นมีรายสำคัญอยู่หลายราย เช่น ข้อมูลที่สัมภาษณ์ผู้ดูแลบ้านโบราณตรงข้ามโรงเรียนสตรีวิทยาแล้วนำสู่ข้อสรุปว่า เชื่อว่าชายชุดดำโยนระเบิดเข้าใส่กองบัญชาการทหาร

รายงานที่ซับซ้อนขนาดนี้  เพิ่งได้ข้อมูลสดๆ ร้อนๆ มันสามารถทำได้จริงหรือ หรือเอาข้อมูลมาใส่ในโครงเรื่องที่วางไว้แล้ว

คอป.ชี้ว่าผู้ชุมนุมเท่ากับความรุนแรง โดยอธิบายว่า รัฐบาล ศอฉ.พยายามระมัดระวัง ขณะที่ผู้ชุมนุมใช้ความรุนแรง ต่อสู้ขัดขวาง ประทุษร้ายเจ้าหน้าที่ ยึดอาวุธ ยึดรถสายพานลำเลียง ถอดเป็นชิ้นๆ  เข้าข่ายความรุนแรง แกนนำปลุกเร้าสร้างความเกลียดชัง มีสิ่งเทียมอาวุธ เช่น ท่อนไม้ ตะไล พลุ ระเบิดขวด การสร้างป้อมด้วยไม้ไผ่

ในทางกลับกันอธิบายว่า ความตายของผู้ชุมนุมเกิดจากความผิดพลาดในการประเมินสถานการณ์ของทหาร เพราะเจ้าหน้าที่เชื่อว่าผู้ชุมนุมจะใช้ความรุนแรง ในแง่นี้ไม่ใช่เราไม่เสียใจกับเจ้าหน้าที่ที่บาดเจ็บเสียชีวิต แต่สมดุลในการอธิบายความรุนแรงมันหายไปพวงทองกล่าว

นอกจากนี้  คอป.ยังละเลยการตัดสินใจส่งกำลังจำนวนมากและอาวุธสงครามเข้าสลายการชุมนุม คอป.ไม่สนใจว่า สิบเมษา แม้ท้องฟ้ามืด ทหารก็ไม่ถอนกำลัง คอป.รับฟัง ศอฉ.โดยไม่มีการตรวจสอบ  ศอฉ.บอกว่าได้สั่งให้ถอนกำลังตั้งแต่ 16.15 น. แล้วคอป.ก็เชื่อ แต่ถ้า คอป.สัมภาษณ์ผู้ชุมนุม จะพบว่าก่อน 18.00 น. เจ้าหน้าที่ยังพยายามเสริมกำลังจุดต่างๆ รุกเข้าหาผู้ชุมนุมอย่างต่อเนื่อง โยนแก๊สจากเฮลิคอปเตอร์ต่อเนื่อง”  

ขณะที่บทสรุปของรายงานเสนอว่า รัฐบาล และเจ้าหน้าที่ต้องแสดงความรับผิดชอบโดยต้องขอโทษต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นที่ใช้มาตรการที่รุนแรงเกินกว่าเหตุ แต่ในบทวิเคราะห์ทั้งเล่มกลับไม่ชี้เลยว่ากรณีใดบ้างที่ทหารใช้กำลังเกินกว่าเหตุ

พวงทองกล่าวย้ำว่า คอป.เห็นว่า รัฐบาลและ ศอฉ. แค่ประมาท เลินเล่อ  ไม่ตรวจสอบการใช้กำลังเคร่งครัด ซึ่งเท่ากับโยนความผิดให้เจ้าหน้าที่ระดับล่าง แต่ปกป้องผู้สั่งการ ซึ่งหากผู้สั่งการไม่ไร้สติสัมปชัญญะ ก็ย่อมเล็งเห็นผลเสียหายต่อชีวิตประชาชน นี่คือสงครามในเมืองและปราบปรามขบวนการเสื้อแดง

การที่คอป.สรุปว่า ผิดทั้งคู่ การใช้คำพูดทำนองนี้ ตั้งใจทำให้ความรุนแรงของรัฐพร่าเลือน ทั้งที่เห็นได้ชัดว่าขนาดกำลังและอาวุธสองฝ่ายไม่มีทางเทียบกันได้เลย ศปช.อยากฝากให้ คอป.ทบทวนว่า การสรุปว่าผิดพอกัน คอป.อาจดูมีวุฒิภาวะ เป็นกลางในสายตาคนต่อต้านคนเสื้อแดงและองค์กรระหว่างประเทศ ที่อ่านภาษาไทยไม่ได้ แต่ความเป็นกลางของคอป.แลกมาด้วยการละเลยการปกป้องศักดิ์ศรี สิทธิความเป็นมนุษย์ของผู้ชุมนุมอย่างไม่น่าจะเกิดขึ้นพวงทองกล่าว

พวงทองกล่าวถึงสันติวิธีของคนเสื้อแดงว่า เราทราบกันดีว่าไม่ได้เป็นไปตามทฤษฎีคานธี สำหรับคนเสื้อแดง เขามองว่า เรามาเรียกร้องให้ยุบสภาให้เลือกตั้งใหม่ ไม่มีอาวุธใดๆ แต่ถ้ามีใครมาทำร้ายเขาก็ต้องป้องกันตัวเอง จะให้นั่งเฉยๆ ให้ทหารยิงคงไม่อาจทำได้ แต่ปัญหาคือ นักสันติวิธีในประเทศนี้เอาแต่นั่งดูและคอยจับผิด มากกว่าจะมาช่วยกำหนดยุทธวิธีในการต่อสู้ว่าต้องระวังอะไร  

สำหรับ นปช.ก็ถูกวิจารณ์อย่างมากตลอดมา ในการชุมนุมที่ยืดเยื้อยาวนาน แกนนำนปช.ก็ได้สรุปบทเรียนและทราบดีว่ามันยากในแง่ผู้ชุมนุมและแกนนำย่อยที่มีความหลากหลายมาก ส่วนนี้แม้เป็นข้อดี แต่ขณะเดียวกันก็ควบคุมกันไม่ได้ ไม่มีความเด็ดขาด

พวกทองกล่าวสรุปว่า มีหลายเรื่องเราน้อมรับคำแนะนำของ คอป. เช่น การเอาผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีโดยเคร่งครัด กองทัพไม่ควรเกี่ยวการเมือง แต่กองทัพไม่ได้ยืนโดดๆ ในสังคม เราต้องพูดถึงพลังการเมืองต่างๆ ที่อยู่ข้างหลังและผลักให้กองทัพออกมาทำรัฐประหารด้วย  
****************************************************************************
ที่มา : ประชาไทออนไลน์

วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555

ขอบพระคุณทุกท่าน...ที่ให้เกียรติมาเยือนร้านหนังสือ "TPnews"


เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2555 "คุณจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
ให้เกียรติมาเยี่ยมชม และอุดหนุนหนังสือไปหลายเล่ม

คนที่ยืนข้างๆ คือผู้ติดตามใกล้ชิดท่านรัฐมนตรี "คุณตั้ม-ธีรภัทร แก้วจุนันท์"
คนคุ้นหน้าคุ้นตากันดี (วันนี้หล่อเป็นพิเศษ)



"ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ" คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ และ
ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฏิรูป
ม.รังสิต
ก็แวะมาเยี่ยมเยียน เช่นกัน

ขอขอบพระคุณทั้งสองท่านค่ะ

*******************************************************

วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555

พวงทอง ภวัครพันธุ์ ชำแหละรายงาน"คอป."



สัมภาษณ์พิเศษ


"คอป.เน้นที่จะหยิบยกเรื่องชายชุดดำมาพูด มองง่ายๆ เลยคือต้องการทำลายความชอบธรรมการชุมนุมของคนเสื้อแดง"

********************************************************

กรณีคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) แถลงบทสรุปเหตุการณ์พฤษภาเลือด 2553

นำมาซึ่งเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง

โดยเฉพาะการระบุในรายงานฉบับสมบูรณ์ของคอป. ถึงการปรากฏตัวของชายชุดดำในหลายเหตุการณ์ว่า มีความเชื่อมโยงกับกลุ่มนปช. เกี่ยวพันใกล้ชิดกับ พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล หรือ เสธ.แดง ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

นางพวงทอง ภวัครพันธุ์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ผู้ประสานศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สลายการชุมนุมเดือนเม.ย.-พ.ค.2553 (ศปช.)

มองต่างมุมในประเด็นดังกล่าว พร้อมนำผลการศึกษาค้นคว้าของศปช. มาประกอบการอธิบาย

จุดอ่อน-จุดแข็งรายงานของคอป.

รายงานสรุปของคอป.มี 300 กว่าหน้า แต่ที่วิเคราะห์เรื่องความรุนแรงมีเพียง 100 กว่าหน้า สิ่งที่คอป.พยายามนำเสนอ เป็นเรื่องของชายชุดดำที่มีความสำคัญกับกลุ่มนปช. โดยเน้นว่าปรากฏตัวอยู่แทบทุกจุดทุกสถานที่ที่มีความรุนแรงตั้งแต่วันที่ 10 เม.ย.-19 พ.ค.53

การพูดแบบนี้แล้วพยายามโยงให้เห็นความสัมพันธ์กับนปช. เป็นนัยยะที่กำลังจะบอกว่าการชุมนุมของนปช.นั้น เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องชอบธรรม ไม่เป็นสันติวิธี รัฐจึงมีสิทธิอันชอบธรรมใช้กำลังสลายการชุมนุมได้

นอกจากนี้ยังพยายามอธิบายการใช้ความรุนแรงของเจ้าหน้าที่รัฐเพื่อตอบโต้ชายชุดดำด้วย แต่ตลอดรายงานไม่มีการกล่าวชัดเจนเลยว่า มีเจ้าหน้าที่รัฐใช้กำลังเกินกว่าเหตุในกรณีไหนบ้าง

ไม่มีการวิจารณ์ว่าการพยายามควบคุมฝูงชนด้วยการขนอาวุธหนัก ใช้กระสุน 1-2 แสนนัด ใช้กำลังทหารมากมายเป็นสิ่งที่เหมาะสมถูกต้องหรือไม่

ไม่มีการวิจารณ์ว่าเป้าหมายที่แท้จริงของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เพียงเพื่อขอคืนพื้นที่ หรือเพื่อต้องการสลายกระบวน การของคนเสื้อแดงกันแน่

ขณะเดียวกันคอป.มีรูปแบบวิธีการเขียนที่ชัดเจนคือ เริ่มด้วยการอธิบายความรุนแรงในทุกจุด โดยมักเริ่มจากการย้ำก่อนว่า ศอฉ.ออกคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามขั้นตอนการสลายการชุมนุมอย่างเคร่งครัด

การใช้กระสุนจริงกระทำได้ใน 3 กรณีเท่านั้นคือ ยิงขึ้นฟ้า ยิงเพื่อขู่ และยิงเพื่อป้องกันตัวเองในกรณีที่พบว่าผู้ชุมนุมมีอาวุธร้ายแรง ซึ่งอาจส่งผลต่อชีวิตของเจ้าหน้าที่

จากนั้นจะตามด้วยว่า ก่อนเกิดเหตุความรุนแรง มีผู้เห็นชายชุดดำอยู่ในที่เกิดเหตุพร้อมอาวุธสงครามในทุกสถานที่ ไม่ว่าสี่แยกคอกวัว วัดปทุมวนาราม สวนลุมฯ และบ่อนไก่ ฯลฯ

การอธิบายลักษณะนี้ คอป.พยายามช่วยสร้างเกราะกำบังให้ผู้นำรัฐบาลและผู้นำศอฉ.ขณะนั้นว่า ได้กำชับแล้วว่าให้ใช้อาวุธอย่างถูกต้องตามขั้นตอน แต่เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการไม่ได้ทำตามคำสั่ง

อย่างไรก็ตาม คอป.ไม่สามารถทำให้เห็นได้ว่า ทำไมเจ้าหน้าที่จึงไม่จับกุมหรือว่ายิงชายชุดดำ แต่ใช้วิธีการยิงใส่ผู้ชุมนุมที่ไม่มีอาวุธ หรือมีอาวุธแต่เป็นประเภทไม่ร้ายแรงพอที่จะทำร้าย เจ้าหน้าที่ในระยะใกล้ได้

คำถามคือทำไมจึงยิงใส่คนเหล่านี้ ทำไมจึงยิงใส่น.ส.กมนเกด อัคฮาด พยาบาลอาสาที่วัดปทุมฯ มีอะไรที่บอกว่า น.ส.กมนเกด เกี่ยวข้องกับชายชุดดำ ซึ่งคอป.ก็ไม่ได้อธิบาย

ส่วนจุดแข็งของคอป.อยู่ที่การใช้ข้อมูลของผู้เชี่ยวชาญวิถีกระสุน

การตายทุกจุดของผู้ชุมนุมเท่าที่อ่านเจอพบว่า แนวกระสุนมาจากด้านที่มีแนวทหารตั้งอยู่ ซึ่งเป็นจุดแข็งที่ศปช.ไม่มี เพราะไม่มีเงินจ้างผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศมาดูวิถีกระสุนได้

จึงอยากเรียกร้องให้คอป.เน้นย้ำประเด็นนี้ รวมถึงเผยแพร่ข้อมูลเหล่านี้มาทำให้ชัดเจนว่า แม้มีชายชุดดำปรากฏขึ้นจริง แต่การตายที่เกิดขึ้นกับผู้ชุมนุม วิถีกระสุน มาจากจุดที่มีกองกำลังของทหารตั้งอยู่

รายงานของคอป.สมบูรณ์รอบด้านหรือไม่

ผลสรุปที่คอป.หยิบยกมาเผยแพร่เป็นการให้ความสำคัญกับชายชุดดำอย่างมาก พยายามโยงการตายเมื่อ 10 เม.ย.53 ที่สี่แยกคอกวัวทั้งหมดว่าเป็นฝีมือของชายชุดดำ แม้จะพบว่าวิถีกระสุนที่ประชาชนถูกยิงมาจากทหารก็ตาม

คอป.ควรไปดูรายละเอียดว่า ที่สี่แยกคอกวัวและหน้าโรงเรียนสตรีวิทยา ประชาชนถูกยิงเสียชีวิตก่อนที่ชายชุดดำจะปรากฏตัวขึ้น ซึ่งคอป.ไม่ได้พูดประเด็นนี้ให้ชัดเจนเลย แต่กลับพูดในลักษณะเห็นอกเห็นใจทหารในขณะนั้น

เช่น ที่บอกว่าเมื่อเห็นผู้บังคับบัญชาถูกยิง ทำให้ทหารระดับล่างระส่ำระสายไร้การควบคุม ยิงอย่างสับสนเข้าใส่ผู้ชุมนุมทำให้ผู้ชุมนุมเสียชีวิตจำนวนมาก

คอป.ต้องไปดูว่าผู้ชุมนุมที่เสียชีวิตจำนวนมาก เสียชีวิตก่อนที่ พ.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม จะเสียชีวิต และวิถีกระสุนมาจากฝั่งทหาร ไม่ควรโยนความผิดทั้งหมดให้ชายชุดดำ

เราไม่ได้ปฏิเสธว่าไม่มีชายชุดดำ โดยเฉพาะคืนวันที่ 10 เม.ย.53 แต่ต้องแยกแยะว่าความตายอันไหนเกิดขึ้นจากฝีมือชายชุดดำ และความตายอันไหนเกิดขึ้นจากฝีมือเจ้าหน้าที่รัฐ

และคอป.ก็ไม่มีการวิจารณ์ว่า ปฏิบัติการกระชับพื้นที่และขอคืนพื้นที่ถูกต้องหรือผิดพลาด เป็นการใช้กำลังเกินกว่าเหตุละเมิดสิทธิของพลเรือน

คอป.มีข้อมูลความรุนแรงที่เกิดจากการดำเนินการของฝ่ายรัฐอยู่มาก แต่กลับไม่พยายามเน้นย้ำอย่างเพียงพอ จุดนี้สร้างความไม่พอใจให้กับผู้ชุมนุมที่ได้รับผลกระทบ พวกเขาเป็นเหยื่อจากการใช้ความรุนแรงอย่างชัดเจน

น่าเสียดายที่ข้อมูลดังกล่าวจะช่วยสร้างภาพความสมดุลกัน แต่กลับไปเน้นเรื่องชายชุดดำโดยไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าภาพชายชุดดำที่ปรากฏในทุกพื้นที่นั้น เป็นผู้สร้างความรุนแรง

คำให้การส่วนใหญ่เรื่องชายชุดดำมาจากเจ้าหน้าที่ทหาร โดยที่ไม่มีหลักฐานอะไรมากกว่านั้น ที่น่าแปลกใจมากคือคำสัมภาษณ์ที่ส่วนใหญ่ไม่มีการสัมภาษณ์ผู้ชุมนุมเลย รวมถึงครอบครัวของคนที่ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต

เป็นไปได้หรือไม่ว่า มีกรอบอยู่แล้วว่าจะเขียนอย่างไรแล้วนำข้อมูลไปใส่ทีหลัง

บทสรุปของคอป.ไม่เน้นข้อมูลคนเจ็บ-คนตาย

กรณีผู้เสียชีวิต ดิฉันอยากเห็นข้อมูลของคอป.มาก เพราะของ ศปช. วิเคราะห์ไว้ชัดเจนว่าลักษณะการตายเป็นอย่างไรส่อเจตนาของผู้ยิงว่าต้องการป้องกันตัวหรือต้องการเอาชีวิต

คอป.มีข้อมูลของวิถีกระสุน ลักษณะการตายเกือบทั้งหมด และผลการชันสูตรพลิกศพ ข้อมูลเหล่านี้กลับไม่ปรากฏในรายงาน จึงอยากเรียกร้องให้สื่อมวลชนและญาติผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต ขอให้คอป.เปิดเผยข้อมูลนี้ออกมา

ทำไมคอป.จึงไม่เปิดเผย

เพราะข้อมูลดังกล่าวจะไปบดบังข้อมูลเรื่องชายชุดดำที่คอป.ให้ความสำคัญ การที่คอป.เน้นที่จะหยิบยกเรื่องชายชุดดำมาพูด มองง่ายๆ เลยคือต้องการทำลายความชอบธรรมการชุมนุมของคนเสื้อแดง

มีการระบุชัดว่าชายชุดดำเชื่อมโยงกับเสธ.แดง

เมื่อดูรายงานคอป.ที่พยายามโยงความเกี่ยวข้องระหว่างชายชุดดำกับพล.ต.ขัตติยะ คิดว่ายังค่อนข้างหลวมมาก

ยกตัวอย่างที่มีคนพบพล.ต.ขัตติยะ บริเวณถนนราชดำเนิน เวลาประมาณ 5 โมงเย็น และโยงว่ามีชายชุดดำบางคนมีความสนิทกับพล.ต.ขัตติยะ ต้องบอกให้ได้ว่าคนนั้นคือใคร ต้องเอาตัวมาแสดง

เหตุการณ์สำคัญที่ขาดหายไป

ประชาชนที่ถูกจับกุมหลังเหตุการณ์พ.ค.53 ซึ่งไม่เห็นข้อมูลนี้แต่เป็นสิ่งที่จำเป็นเนื่องจากผู้ชุมนุมจำนวนมากทั้งในกทม. และต่างจังหวัด ถูกจับกุมหลายพันคน มีการดำเนินคดีขึ้นศาลหลายร้อยราย

ซึ่งการจับกุมเหล่านี้ ด้านหนึ่งชี้ว่ากระบวนการยุติธรรมกับผู้ชุมนุมได้เดินไปแล้ว หลายคนถูกตัดสินจำคุก หลายคนถูกขังฟรี แต่ในฝ่ายของผู้ที่ใช้กำลังปราบปรามประชาชนยังไม่ได้ถูกดำเนินคดีเลย

และหลังการคุมขังประชาชนยังเป็นสาเหตุของความโกรธแค้นที่ผู้ชุมนุมถูกกระทำด้วยการสลายการชุมนุม

ผลสรุปที่ออกมารู้สึกอย่างไร

ไม่ได้คาดหวังกับคอป.มาตั้งแต่แรกแล้ว แต่ก็ไม่คิดว่าจะออกมาลักษณะนี้ ดิฉันรู้จักนายสมชาย หอมลออ กรรมการคอป. มานาน ยังคิดว่าหลักการสิทธิมนุษยชนน่าจะเป็นส่วนที่ค้ำคอป.อยู่บ้าง โดยเฉพาะสิทธิในชีวิตของประชาชน

แต่ผลสรุปที่ออกมาเรียกได้ว่าล้มเหลว เห็นได้ชัดจากปฏิกิริยาของคนที่ไม่ยอมรับข้อสรุปของคอป.อยู่มาก


*************************************************************************************
ที่มา : ข่าวสดออนไลน์

วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

รายการจุดเปลียน :: วันอังคาร ที 18 กันยายน เวลา 21.00 น. พบกับ คุณ จักรภพ เพ็ญแข และ คุณมิดไนท์ชัน :: หัวข้อ "ย้อนเกล็ด คอป." ถ่ายทอดสัญญาณ ทาง http://www.norporchoreu.com/ http://norporchoreusweden.org/ และอีกหลายเครือข่าย

วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2555

สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ : ความจริงเพื่อความยุติธรรม

บรรยากาศวันเปิดร้านหนังสือ "TPnews" ของ "คุณจักรภพ เพ็ญแข" ชั้น 4 อิมพีเรียล ลาดพร้าว