ร้านหนังสือแนวประวัติศาสตร์, การเมือง-การปกครอง, หนังสือหายาก, หนังสือความรู้ทั่วไป และผลงานร่วมสมัยของแกนนำเสื้อแดง, กล่องรับสัญญาณดาวเทียม สินค้าเบ็ดเตล็ด / ข่าว SMS ผ่านมือถือ / ทัวร์เสื้อแดง
Asia update
วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
เชิญร่วม “รำลึกสี่ปีการจากไป... ลุงสุพจน์ ด่านตระกูล”
เชิญร่วม “รำลึกสี่ปีการจากไป... ลุงสุพจน์ ด่านตระกูล”
ณ ร้านหนังสือ “TPNews” อิมพีเรียลลาดพร้าว ชั้น 4 (เยื้องลิฟต์แก้ว)
วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2556
กำหนดการ
13.30-13.40 น. คุณจอม เพชรประดับ กล่าวนำ
13.40-14.00 น. วิดีโอลิ้งค์ คุณจักรภพ เพ็ญแข เรื่อง "มรดกของลุงสุพจน์" และกล่าวเปิด
14.00-15.00 น. คุณวีระกานต์ มุสิกพงศ์ ผู้ก่อตั้ง นปช. สนทนาเรื่อง "สุพจน์ ด่านตระกูล...ในความทรงจำของผม"
15.00-16.00 น. อ.ปิยบุตร แสงกนกกุล ผู้ก่อตั้ง กลุ่มนิติราษฎร์ สนทนาเรื่อง "คุณูปการของสุพจน์ ด่านตระกูล ต่อการพัฒนาประชาธิปไตยไทย"
16.00-17.00 น. คุณดอม ด่านตระกูล สนทนาเรื่อง "ลูกสาวเล่าถึงพ่อ"
17.00น. คุณป้าโสภณ ด่านตระกูล ภรรยาลุงสุพจน์ฯ กล่าวขอบคุณ
ผู้ร่วมงานตลอดจนวิทยากรมอบของที่ระลึก
17.15น. คุณจอม เพชรประดับ กล่าวสรุปและปิดงาน
ชีวิต “ลุงสุพจน์ ด่านตระกูล”
“ลุงสุพจน์
ด่านตระกูล” เกิดเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2466 ที่บ้านปลายคลอง
หมู่ที่ 6 ตำบลเชียรเขา อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่
2 ได้เข้าร่วมกับพวกต่อต้านญี่ปุ่น (เสรีไทย)
และได้มีโอกาสรู้จักกับนายปรีดี พนมยงค์ หัวหน้าขบวนการเสรีไทย ภายหลังสงครามได้เข้าทำงานหนังสือพิมพ์และร่วมเคลื่อนไหวทางการเมือง
จนถูกจับกุมในคดี 10 พฤศจิกายน 2495 จากความเคลื่อนไหวต่อต้านสงครามเกาหลี
ที่รู้จักกันในนามของกบฏสันติภาพ โดยคราวนั้น ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ ภริยานายปรีดี
รวมทั้งนักคิด นักเขียน นักหนังสือพิมพ์หลายคนถูกกวาดจับ ถูกศาลพิพากษาลงโทษจำคุก 20
ปี แต่ติดคุกอยู่ประมาณ 5 ปี ก็ได้รับนิรโทษกรรม
ในปีฉลองกึ่งพุทธกาล พ.ศ.2500
เมื่อออกจากคุกมาประกอบอาชีพหนังสือพิมพ์
ก็ถูกจับกุมอีกครั้งในปี 2501
ยุคของรัฐบาลเผด็จการ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในข้อหา กบฏภายในราชอาณาจักรและมีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์
ถูกศาลทหารกรุงเทพพิพากษาลงโทษจำคุก 3 ปี ในความผิดต่อความมั่นคงของรัฐ
และยกฟ้องข้อหามีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์
จากนั้นได้อุทิศตนให้กับการเคลื่อนไหวทางสังคม
สนใจศึกษาค้นคว้าและเผยแพร่ประวัติศาสตร์การเมืองไทยยุคหลัง 24 มิถุนายน 2475 อย่างต่อเนื่อง ในนาม "สถาบันวิทยาศาสตร์สังคม"
-
เป็นผู้อำนวยการสถาบันวิทยาศาสตร์สังคม
-
นักเขียนรางวัลเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป
-
เป็นนักเขียนที่ได้รับฉายาจากวงการสื่อมวลชนว่า
องครักษ์พิทักษ์ปรีดี,
ขุนพลผู้พิทักษ์การอภิวัฒน์ 2475
มรณกรรมเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2552 สิริอายุรวม 86 ปี
ปัจฉิมวาจา
“รัฐประหาร19กันยาจะนำไปสู่อภิวัฒน์สมบูรณ์”
นายสุพจน์หรือที่บรรดานักกิจกรรมรุ่นหลังเรียกว่า
"ลุงสุพจน์"
นอกจากจะทำหน้าที่ในการเขียนหนังสือจำนวนมากเพื่อปกป้องการอภิวัฒน์ 2475 และตอบโต้บรรดาปฏิกิริยาขวาจัดที่มุ่งร้ายโจมตีรัฐบุรุษอาวุโสปรีดีว่าพัวพันกับคดีสวรรคตของรัชกาลที่
8 อย่างสืบเนื่องเอาการเอางานและน่ายกย่องในความมุ่งมั่นแล้ว
ในบั้นปลายชีวิตยังกระฉับกระเฉงในการเข้าร่วมกิจกรรมการเสวนาต่างๆ
รวมทั้งถ่ายทอดประสบการณ์แก่บรรดานักวิชาการ นักคิด
นักกิจกรรมรุ่นหลังผู้ใฝ่หาสัจธรรมอย่างไม่ขาดตอน
หลังการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ไม่นานนัก
กลุ่มประชาชนผู้ต่อต้านการทำรัฐประหารได้จัดกิจกรรมสัมมนาขึ้นที่
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ "ลุงสุพจน์"
ในบั้นปลายได้รับเชิญขึ้นเวทีอภิปราย โดยยังมีร่างกายที่กระฉับกระเฉงและน้ำเสียงแจ่มใส
และยังเต็มไปด้วยคามหวัง
“ลุงสุพจน์” กล่าวตอนหนึ่งในกิจกรรมสัมมนานัดนั้นว่า
การทำรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 นั้น
นับว่าแตกต่างไปจากการทำรัฐประหารยึดอำนาจหลายครั้งที่ผ่านๆ มา
เพราะหลายครั้งที่ผ่านมานั้นอาจเรียกได้ว่าเป็น "ความขัดแย้งรอง"
ซึ่งก็คือบรรดาชนชั้นปกครอง
หรือผู้มีอำนาจในโครงสร้างส่วนบนสุดของสังคมยื้อแย่งอำนาจกันไปมา
ประชาชนแทบไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง แต่ครั้งหลังสุดนี้ถือเป็น
"ความขัดแย้งหลัก" กล่าวคือเป็นการขัดแย้งระหว่างชนชั้นปกครองที่อยู่บนส่วนยอดสุดของโครงสร้าง
ทางสังคม
แย่งชิงอำนาจไปจากตัวแทนอันชอบธรรมที่ประชาชนได้พากันเลือกตั้งและสนับสนุน
จึงเป็นการขัดแย้งหลักระหว่างชนชั้นปกครองกับประชาชนผู้ถูกกดขี่
ซึ่งความขัดแย้งหลักดังกล่าวในประวัติศาสตร์การเมืองไทยมีน้อยครั้ง
คือกรณีอภิวัฒน์เปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ที่ได้เปลี่ยนแปลงการปกครองจากบรรดาศักดินามาสู่ประชาชนชั้นไพร่
และต่อมาในกรณี14 ตุลาคม 2516 ที่ประชาชนช่วงชิงอำนาจมาจากบรรดาขุนศึกผู้กดขี่
ส่วนการรัฐประหาร 19 กันยานั้น เมื่อชนชั้นผู้ปกครองที่กดขี่แย่งชิงอำนาจไปจากประชาชน คราวนี้ประชาชนผู้ถูกกดขี่คงไม่ยินยอม เพราะประชาชนตระหนักในพลังอำนาจของตนเอง จึงต้องคาดการณ์ว่าความขัดแย้งหลักในครั้งนี้จะนำไปสู่การอภิวัฒน์ที่สมบูรณ์ที่ลงท้ายด้วยชัยชนะของฝ่ายประชาชนผู้ถูกกดขี่ในที่สุด
เนื่องจากบรรดาชนชั้นปกครองผู้กดขี่ไม่อาจจะฝืนต่อสัจจะทางประวัติศาสตร์ได้แน่นอน
“ตายตาหลับแล้วมีคนรุ่นใหม่สืบทอดภารกิจ”
สำหรับ ”ลุงสุพจน์” ในบั้นปลายยังเข้าร่วมกิจกรรมของประชาชนฝ่ายประชาธิปไตยอย่างไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย
นักกิจกรรมที่ไปเยี่ยมลุงสุพจน์เมื่อวันอาทิตย์ 1 ก.พ. 2552 ขณะลุงป่วยได้เล่าว่า “อาจารย์สุพจน์
ด่านตระกูล” ได้เข้าพักอยู่ที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง
เนื่องจากโรคมะเร็งในต่อมน้ำเหลือง ตามคำขอร้องของครอบครัว ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 30 ม.ค.2552
ท่านปฏิเสธการรักษาด้วยเคมีบำบัด และวิธีอื่นๆ แต่ยอมรับกลูโคส
และสมุนไพรเพื่อรักษาสมดุลในร่างกาย ท่านยังมีแผนงานที่จะรวบรวมงานวิจัยในหัวข้อ
การปฏิวัติประชาธิปไตยในสยาม คำทักทายแรกที่ท่านเอ่ยกับผู้ไปเยี่ยมคือ
"(ชุมนุม) เมื่อวานเป็นไงบ้าง"
พร้อมกับเตือนว่าให้เคลื่อนไหวโดยคำนึงถึง ภววิสัย ไม่ต้องรีบร้อนบุ่มบ่าม
“นายปิยบุตร แสงกนกกุล” อาจารย์คณะนิติศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึง “ลุงสุพจน์” ว่า ในช่วงบั้นปลายชีวิตนั้น “ลุงสุพจน์”
กับ “ลุงศุขปรีดา พนมยงค์” (บุตรชายนายปรีดี) และมิตรสหาย จะนัดเจอกันเพื่อกิน
ดื่ม สนทนา เป็นประจำทุกวันเสาร์ต้นเดือน ที่ร้านย่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
พักหลังๆ นี้ กลุ่มคุณลุงได้ให้เกียรติพวกผมกลุ่ม 5 คน (หมายถึง 5
อาจารย์นิติศาสตร์คัดค้านรัฐประหาร-ประชาไท) ไปร่วมโต๊ะด้วย หากใครไม่ติดธุระก็จะไปกัน
ครั้งหลังสุดที่ผมไปนี้
ผมเตรียมจะเดินทางกลับมาฝรั่งเศสในอีกไม่กี่วัน โทรไปถามพรรคพวกแล้ว
ติดธุระบรรยายกันหมด บางคนก็อยู่ต่างประเทศ ผมเลยไปคนเดียว เพราะคิดว่า กว่าผมจะกลับมาอีก
กว่าจะได้มีโอกาสเจอคุณลุงเหล่านี้ คงอีกนาน และด้วยความสัตย์จริง
ตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติที่ไม่มีใครหน้าไหนหนีพ้น กว่าผมจะกลับมาก็ไม่ทราบว่าจะมีโอกาสได้พบคุณลุงครบทุกท่านหรือไม่
ผมได้พิมพ์บทความ "ปรีดี พนมยงค์ กับกฎหมายมหาชนไทย"
เพื่อมอบให้กับ คุณลุงศุขปรีดาและคุณลุงสุพจน์
พร้อมกับนำหนังสือรวมเล่มแรกของผมไปมอบให้ท่านด้วย ท่านเองก็มีไมตรีจิต มอบหนังสือ กรณีสวรรคตรัชกาลที่ 8
ที่นำมาพิมพ์ใหม่ให้ผมด้วย ซึ่งนับเป็นเกียรติต่อผมอย่างยิ่ง พวกเราสนทนากัน
จนได้เวลาแยกวง ผมรอเดินไปส่งคุณลุงศุขปรีดา และคุณลุงสุพจน์
คุณลุงศุขปรีดา อวยพรผมให้โชคดี ส่วนคุณลุงสุพจน์ บอกกับผมว่า
"อาจารย์ยังเป็นคนหนุ่ม
อาจารย์มีโอกาสได้เห็นเหตุการณ์หัวเลี้ยวหัวต่อนี้แน่นอน
อย่าลืมที่จะบันทึกเหตุการณ์เหล่านี้ไว้
เพื่อมิให้ใครมาบิดเบือนประวัติศาสตร์นี้ในวันข้างหน้า"
และปิดท้ายด้วยประโยคว่า "ผมเห็นกลุ่มอาจารย์เป็นคนหนุ่ม
และมีความคิดแบบนี้ ผมก็วางใจ และคงนอนตายตาหลับ"
แรงกาย แรงใจ แรงสมอง ที่คุณลุงสุพจน์ ทำมาตลอด ตามความคิด
ความเชื่อของคุณลุงนั้น ไม่เสียเปล่าแน่นอน ขอไว้อาลัยแด่คุณลุงสุพจน์ ด่านตระกูล
นายปิยบุตร กล่าว
ธงสามห่วงสัญลักษณ์สันติภาพ
สัญญาลักษณ์ห่วงกลม ๓
ห่วง สีเหลือง สีขาว และสีดำ ที่อยู่บนผืนผ้าสีแดงนี้ “ลุงสุพจน์ ด่านตระกูล”
เป็นผู้ออกแบบ โดยครั้งแรกได้ทำเป็นหัวเข็มขัดใช้ส่วนตัว ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๒
และอธิบายความว่า สีแดง หมายถึงเลือด ห่วงสีเหลือง สีขาว และสีดำ
ที่สอดร้อยกันอยู่นั้นหมายถึง ชาติพันธุ์มนุษย์อันจำแนกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ ๓ กลุ่ม
คือกลุ่มคนผิวเหลือง กลุ่มคนผิวขาว และกลุ่มคนผิวดำ
ซึ่งล้วนแล้วแต่มีเลือดสีเดียวกัน อันเป็นความปรารถนาสูงสุดของ “ลุงสุพจน์
ด่านตระกูล” ที่ต้องการให้คนทุกสีผิวบนโลกนี้อยู่ร่วมกันด้วยความรัก
ด้วยสันติภาพ และภราดรภาพ
น้อมคารวะ สุพจน์ ด่านตระกูล : ส่งช่วงธง
มือต่อมือ
สะบัด ธงทิวราย
แจ้งหมาย สัจธรรม
สัญญาณ เพื่อรุกนำ
อิสระ เสรีผล
สุพจน์ พลพากษ์
สุพจน์ พลพากษ์
ทวนกราก กระแสชล
ความจริง เพื่อขุดค้น
ความจริง เพื่อขุดค้น
ให้ข้อคิด แห่งความจริง
ธงทิว พริ้วสะบัด
ธงทิว พริ้วสะบัด
เพื่อชี้ชัด ใช้อ้างอิง
ต่อนี้ ใครจะติง
ต่อนี้ ใครจะติง
เมื่อผืนธง ละลิ่วลา
เมื่อมือ
ซึ่งถือธง
ทรุดร่างลง สยบพื้น
ที่เหลือ ก็หยัดยืน
ที่เหลือ ก็หยัดยืน
และยื่นมือ
รับช่วงธง
ร้อยแสน พันหมื่นมือ
ร้อยแสน พันหมื่นมือ
ปักธงถือ อย่างมั่นคง
แน่วแน่ แม้ชีพปลง
แน่วแน่ แม้ชีพปลง
ส่งช่วงธง มือต่อมือ
(“มังกรดำ”
ประพันธ์กาพย์ยานี 11 นี้ ขึ้น เมื่อ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ โพสต์ที่ประชาไทเว็บบอร์ด
ระบุว่า "ด้วยเจตนา รจนาคำแทนธูป เพื่อคารวะดวงวิญญาณสุพจน์
ด่านตระกูล บุรุษผู้ยิ่งใหญ่ของแผ่นดินท่านนี้")
แด่.... สี่ปีลุงสุพจน์ ด่านตระกูล
รำลึก นึกถึง ยิ่งซึ้งจิต
ลุงสุพจน์ นักคิด และนักเขียน
ด่าน ใดใด กั้นขวาง ก็ถางเตียน
ตระกูล เรียน ตระกูลรู้ คู่สัจจัง
จักกี่ปีผ่านไปยังใฝ่อ่าน
ยิ่งอ่านงานสานค้นยิ่งข้นขลัง
ลุงสุพจน์จากกายแต่ใจยัง
สร้างพลังสู้อสัตย์มุ่งสัจธรรม
จักรภพ เพ็ญแข
๑๒ ก.พ. ๒๕๕๖
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)